วันที่นำเข้าข้อมูล 29 ส.ค. 2566
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 25 ก.ค. 2567
การขอจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน (ENG)
(คู่หย่าอีกฝ่ายอยู่ที่ประเทศไทย)
ขอบเขตการให้บริการ
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ให้บริการการจดทะเบียนหย่าสำหรับบุคคลสัญชาติไทยที่เคยจดทะเบียนแต่งงานไทยและปัจจุบันอาศัยอยู่ใน 13 รัฐในเขตอาณา (รวมทั้งเกาะ Puerto Rico และ District of Columbia) ดังนี้ Alabama, District of Columbia, Delaware, Florida, Georgia Louisiana, Maryland, Mississippi, North Carolina, South Carolina, Tennessee, Texas, Virginia, West Virginia, and Puerto Rico
|
ข้อควรรู้ในการขอจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน
1. การหย่าต่างสำนักทะเบียน คือ การหย่าโดยความยินยอมของคู่หย่าทั้งสองฝ่าย โดยที่ต่างฝ่ายต่างอยู่คนละแห่ง ไม่สามารถเดินทางไปจดทะเบียนหย่า ณ สำนักทะเบียนเดียวกันได้ ทั้งนี้ คู่หย่าจะต้องตกลงกันว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนก่อนที่สำนักทะเบียนใด และจะให้สำนักทะเบียนใดเป็นผู้จดทะเบียนให้ การหย่าจะสมบูรณ์ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนแห่งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว 2. คู่หย่าฝ่ายที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาจะต้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่าด้วยตนเอง ณ สถานเอกอัครราชทูตฯ 3. สำหรับบุคคลที่จดทะเบียนสมรสก่อนวันที่ 5 มิถุนายน 2546 คู่หย่าฝ่ายหญิงจะต้องมีหนังสือเดินทางไทย และหลักฐานทะเบียนราษฎรที่เป็นชื่อสกุลคู่หย่าฝ่ายชาย เพื่อใช้ในการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่า |
การหย่าต่างสำนักทะเบียนมี 2 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1: คู่หย่าฝ่ายที่พำนักอยู่ที่ประเทศไทยเป็นผู้ยื่นเรื่องที่สำนักทะเบียนที่ประเทศไทย สำนักทะเบียนแห่งที่ 1 คือ สำนักทะเบียนที่ประเทศไทย สำนักทะเบียนแห่งที่ 2 คือ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ซึ่งจะเป็นผู้จดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าให้ ขั้นตอนการดำเนินการ 1. คู่หย่าฝ่ายที่พำนักอยู่ที่ประเทศไทยเป็นผู้เริ่มยื่นขอจดทะเบียนหย่าที่สำนักทะเบียนที่ประเทศไทย 2. หลังจากนั้นเอกสารการหย่าต่างสำนักทะเบียนจะถูกส่งผ่านกระทรวงการต่างประเทศมายังสถานเอกอัครราชทูตฯ 3. ภายหลังจากที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับเอกสารการหย่าฯ จากกระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะติดต่อคู่หย่าฝ่ายที่พำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกาเพื่อดำเนินการจดทะเบียนหย่าด้วยตนเองที่อาคารฝ่ายกงสุล 4. ในวันที่มาจดทะเบียนหย่า สถานเอกอัครราชทูตฯ จะมอบใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าให้แก่คู่หย่าฝ่ายที่พำนักอยู่ในสหรัฐฯ และจะส่งใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าอีกฉบับผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปยังสำนักทะเบียนที่ประเทศไทยเพื่อมอบให้แก่คู่หย่าฝ่ายที่พำนักอยู่ที่ประเทศไทยต่อไป เอกสารที่ต้องใช้ 1. คำร้องนิติกรณ์สำหรับการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด 2. หนังสือเดินทาง และ/หรือบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุ (หากเป็นชาวต่างชาติ ให้แสดงหนังสือเดินทางของประเทศนั้น ๆ) 3. ทะเบียนบ้านที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก 4. ใบขับขี่สหรัฐฯ หรือ State ID (หากมี) 5. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมรสฉบับจริง หรือสำเนาที่มีตราประทับรับรองจากสำนักงานเขต/อำเภอ (หากไม่มี จะต้องไปดำเนินการขอคัดสำเนามาก่อน)
แบบที่ 2: คู่หย่าฝ่ายที่พำนักอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ยื่นเรื่องที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สำนักทะเบียนแห่งที่ 1 คือ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สำนักทะเบียนแห่งที่ 2 คือ สำนักทะเบียนที่ประเทศไทย ซึ่งจะเป็นผู้จดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าให้ ขั้นตอนการดำเนินการ 1. คู่หย่าฝ่ายที่พำนักอยู่ที่สหรัฐฯ เป็นผู้เริ่มยื่นขอจดทะเบียนหย่าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ 2. หลังจากนั้นเอกสารการหย่าต่างสำนักทะเบียนจะถูกส่งผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปยังสำนักทะเบียนที่ประเทศไทย (ตามที่แจ้ง) 3. ภายหลังจากที่สำนักทะเบียนที่ประเทศไทยได้รับเอกสารการหย่าฯ จากกระทรวงการต่างประเทศ สำนักทะเบียนที่ประเทศไทยจะติดต่อคู่หย่าฝ่ายที่พำนักอยู่ที่ประเทศไทยเพื่อดำเนินการจดทะเบียนหย่าด้วยตนเอง 4. ในวันที่มาจดทะเบียนหย่า สำนักทะเบียนที่ประเทศไทยจะมอบใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าให้แก่คู่หย่าฝ่ายที่พำนักอยู่ที่ประเทศไทย และจะส่งใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าอีกฉบับผ่านกระทรวงการต่างประเทศมายังสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อมอบให้แก่คู่หย่าฝ่ายที่พำนักอยู่ที่สหรัฐฯ ต่อไป เอกสารที่ต้องใช้ 1. คำร้องนิติกรณ์สำหรับการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด 2. หนังสือสัญญาหย่าที่ลงนามโดยคู่หย่าทั้งสองฝ่าย 3. สำเนาเอกสารประจำตัวของคู่หย่าฝ่ายที่พำนักอยู่ที่ประเทศไทยและพยาน ซึ่งต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเขต/อำเภอ หรือเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ เช่น สำเนาหนังสือเดินทาง สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ฯลฯ 4. แบบฟอร์ม "บันทึกเรื่องการจดทะเบียนการหย่าต่างสำนักทะเบียน" 5. หนังสือเดินทาง และ/หรือบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุ (หากเป็นชาวต่างชาติ ให้แสดงหนังสือเดินทางของประเทศนั้น ๆ) 6. ทะเบียนบ้านที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก 7. ใบขับขี่สหรัฐฯ หรือ State ID (หากมี) 8. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมรสฉบับจริง หรือสำเนาที่มีตราประทับรับรองจากสำนักงานเขต/อำเภอ (หากไม่มี จะต้องไปดำเนินการขอคัดสำเนามาก่อน) |
คำแนะนำสำหรับการกรอกเอกสาร
การกรอกหนังสือสัญญาหย่า 1. กรอกข้อความรายละเอียดต่าง ๆ รวมทั้งข้อตกลงเรื่องทรัพย์สิน บุตร เรื่องอื่น ๆ และคำนำหน้าชื่อของฝ่ายหญิงหลังการหย่า โดยคู่หย่าฝ่ายที่พำนักอยู่ที่ประเทศไทยและพยานที่มีสัญชาติไทยสองท่าน จะต้องลงลายมือชือต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานเขต/อำเภอ และให้เจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อและประทับตรารับรองลายมือชื่อของคู่หย่าและพยานทั้งสองท่านด้วย (่กรุณาเว้นว่างช่องลายมือชื่อของคู่หย่าฝ่ายที่พำนักอยู่ที่สหรัฐฯ ไว้ เพื่อมาลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สถานเอกอัครราชทูตฯ) 2. โปรดระบุข้อตกลงเรื่องการดูแลบุตรให้ชัดเจน อาทิ จำนวนบุตร ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด และอายุปีบริบูรณ์ของบุตร หากมีบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์) ต้องระบุผู้ที่จะมีอำนาจปกครองบุตรภายหลังการหย่าด้วย 3. หากไม่มีบุตรร่วมกัน ให้ระบุว่า "ไม่มี" 4. หากไม่ต้องการระบุข้อตกลงในการหย่าเรื่องทรัพย์สิน ให้เขียนว่า "ไม่ระบุ" 5. หากไม่ต้องการระบุข้อตกลงในการหย่าเรื่องอื่น ๆ ให้เขียนว่า "ไม่มี" การกรอกคำร้องขอจดทะเบียนหย่า 1. ฝ่ายหญิงจะต้องวงเล็บนามสกุลเดิมก่อนสมรสไว้ด้วย (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2. การกรอกอายุจะต้องเป็นอายุที่ครบปีบริบูรณ์ เช่น อายุ “30 ปี 7 เดือน” ให้กรอกอายุ “30 ปี” การกรอกบันทึกเรื่องการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน 1. ข้อมูลของนายทะเบียนให้เว้นว่างไว้ |
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตฯ (งานทะเบียนราษฎร)
หมายเลขโทรศัพท์ (202) 640-5325
อีเมล [email protected]
ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตฯ
2300 Kalorama Road, N.W. Washington, D.C. 20008
วันและเวลาทำการ
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09.00-17.00น.
วันหยุดราชการ
วันหยุดราชการ