วันที่นำเข้าข้อมูล 28 ส.ค. 2566
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 1 ก.พ. 2567
การขอรับบุตรบุญธรรม (ENG)
ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรมสามารถกระทำได้ ดังนี้
การแสดงความจำนงขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
|
คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
|
การจัดส่งเอกสาร
1. ฝ่ายผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต้องติดต่อส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมหรือหน่วยงานที่รัฐบาลประเทศนั้นมอบหมาย หรือองค์กรเอกชนที่รัฐบาลของประเทศนั้นอนุญาตให้ดำเนินการเรื่องบุตรบุญธรรม เพื่อจัดหาเอกสารต่าง ๆ ดังนี้
หมายเหตุ เอกสารทุกฉบับดังกล่าวข้างต้นจะต้องได้รับการรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมพำนักอยู่หรือจัดส่งผ่านช่องทางทางการทูต 2. ฝ่ายที่จะมอบเด็กให้
3. ฝ่ายเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
|
ขั้นตอนการดำเนินการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
1. เมื่อจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ได้ครบถ้วนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ (นักสังคมสงเคราะห์) จะพิจารณาว่าผู้ขอรับเด็กมีคุณสมบัติตามกฏหมายหรือไม่ หากพบว่าผู้ขอรับเด็กมีคุณสมบัติเหมาะสม มีฐานะความเป็นอยู่ดี มีอุปนิสัยดี ความประพฤติดี อาชีพรายได้ดี ฐานะของครอบครัวดี ตลอดจนมีสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะรับเด็กไปอุปการะเลี้ยงดูได้ พนักงานเจ้าหน้าที่จะประมวลรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อเสนอให้อธิบดีพิจารณาก่อนเสนอคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในการพิจารณาอนุมัติคุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม หากเป็นกรณีที่มอบเด็กให้กันเอง คณะกรรมการฯ จะพิจารณาเด็กควบคู่ไปในคราวเดียวกัน 2. กรณีที่ขอรับเด็กกำพร้าของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เมื่อคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมพิจารณาอนุมัติคุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว คณะกรรมการการคัดเลือกเด็กให้เป็นบุตรบุญธรรมจะพิจารณาคัดเลือกเด็กกำพร้าของกรมฯ ให้แก่ผู้ขอรับ ตามบัญชีก่อนหลัง 3. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะแจ้งประวัติเด็กพร้อมรูปถ่ายให้ผู้ขอรับบุตรบุญธรรมได้พิจารณาผ่านหน่วยงานที่ติดต่อเรื่องนี้มา 4. เมื่อผู้ขอรับบุตรบุญธรรมแจ้งตอบรับเด็กให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการทราบแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะเสนอให้คณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมพิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอรับบุตรบุญธรรมรับเด็กไปทดลองเลี้ยงดู โดยต้องขออนุญาตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงและทรัพยากรมนุษย์ก่อนนำเด็กออกไปนอกราชอาณาจักรไทยเพื่อทดลองเลี้ยงดู 5. เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงและทรัพยากรมนุษย์อนุญาต กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะนัดหมายให้ผู้ขอรับบุตรบุญธรรมมารับการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และรับเด็กไปทดลองเลี้ยงดูเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในต่างประเทศจะทำการควบคุมการทดลองเลี้ยงดูและส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูมาให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการสองเดือนต่อครั้งเป็นระยะเวลา 6 เดือน 6. เมื่อทดลองเลี้ยงดูเป็นระยะเวลาครบ 6 เดือนแล้ว และมีรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูครบ 3 ครั้ง ซึ่งหากปรากฏว่าผลการทดลองเลี้ยงดูเป็นที่น่าพอใจ เด็กอยู่อาศัยกับครอบครัวผู้ขอรับบุตรบุญธรรมอย่างมีความสุข พนักงานเจ้าหน้าที่จะสรุปรายงานเสนอคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอรับบุตรบุญธรรมไปดำเนินการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายได้ 7. ผู้ขอรับบุตรบุญธรรมจะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่สถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยที่ผู้ขอรับบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะมีหนังสือขอความร่วมมือไปยังกระทรวงการต่างประเทศผ่านกระทรวงความมั่นคงและทรัพยากรมนุษย์ เพื่อแจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยทราบ พร้อมกับแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบและผู้ขอรับบุตรบุญธรรมได้ทราบพร้อมกัน 8. กรณีที่ผู้ขอรับบุตรบุญธรรมอยู่ที่ประเทศไทย การจดทะเบียนฯ สามารถดำเนินการได้ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ ซึ่งเป็นการร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้เช่นเดียวกับการขอบุตรบุญธรรมไทย 9. กระทรวงการต่างประเทศจะส่งสำเนาภาพถ่ายเอกสารทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม (คร.14) จำนวน 1 ชุด มาให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าการดำเนินการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ขอรับบุตรบุญธรรม (แต่ละราย) ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุกประการ และสำหรับผู้ขอรับบุตรบุญธรรมที่อยู่ในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะขอสำเนาภาพถ่ายเอกสารทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม (ดร.14) จำนวน 1 ชุด จากผู้ขอรับบุตรบุญธรรมไว้เป็นหลักฐานเพื่อแสดงว่าการดำเนินการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ขอรับบุตรบุญธรรม (แต่ละราย) ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว |
องค์การสวัสดิภาพเด็ก (Unicef)
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 มาตรา 6 บัญญัติไว้ว่า “ห้าม มิให้บุคคลใดนอกจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการส่วนราชการที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมอบหมาย หรือองค์การ สวัสดิภาพเด็กที่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีดำเนินการเพื่อให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม” และมาตรา 7 บัญญัติไว้ว่า “องค์การสวัสดิภาพเด็กที่ประสงค์จะดำเนินการเพื่อให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากอธิบดี…..” ปัจจุบันองค์การสวัสดิภาพเด็กเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการเพื่อให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมี 4 องค์กรด้วยกัน คือ
หมายเหตุ ท่านสามารถเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.adoption.dsdw.go.th/index.html |
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตฯ (งานทะเบียนราษฎร)
หมายเลขโทรศัพท์ (202) 640-5325
อีเมล [email protected]
ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตฯ
2300 Kalorama Road, N.W. Washington, D.C. 20008
วันและเวลาทำการ
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09.00-17.00น.
วันหยุดราชการ
วันหยุดราชการ