USABC เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอำลาเพื่อเป็นเกียรติแก่เอกอัครราชทูตธานี แสงรัตน์

USABC เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอำลาเพื่อเป็นเกียรติแก่เอกอัครราชทูตธานี แสงรัตน์

วันที่นำเข้าข้อมูล 14 เม.ย. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 14 เม.ย. 2567

| 684 view

ด้วยเมื่อวันที่ ๘ เม.ย. ๒๕๖๗ เอกอัครราชทูต Ted Osius ตำแหน่งประธานและ CEO ของ U.S.-ASEAN Business Council (USABC) ได้เป็นเจ้าภาพอาหารกลางวันแก่เอกอัครราชทูตธานี แสงรัตน์ เนื่องในโอกาสที่พ้นหน้าที่ โดยมีผู้แทนของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ เอกอัครราชทูตและผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตอาเซียนในสหรัฐฯ พร้อมด้วยผู้แทนของบริษัทเอกชนของสหรัฐฯ

เอกอัครราชทูต Osius ได้กล่าวชื่นชมเอกอัครราชทูตธานีฯ ที่ได้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ได้อย่างรอบด้านในทุกมิติตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เป็นไปตามพันธกิจที่ได้กล่าวไว้ตั้งแต่รับหน้าที่ คือ การส่งเสริมความร่วมมือตามแนวทาง “ASP” ได้แก่ A-Alliance S-Economic Sustainability และ P-Participation/People to People relations โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับความร่วมมือในระดับประชาชนซึ่งถือเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอย่างแท้จริง

ในคำกล่าวของเอกอัครราชทูตธานีฯ ได้ย้ำถึงประเด็นต่าง ๆ ได้แก่

๑. ความสำเร็จของสถานเอกอัครราชทูตฯ ในการ ขับเคลื่อนกิจกรรมทั้ง ๗ กิจกรรมทึ่สำคัญ ได้แก่ (๑) การส่งเสริมความสัมพันธ์และการเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดระหว่างทั้งสองฝ่าย (๒) การรื้อฟื้น U.S. – Thai Alliance Caucus (๓) การจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง ๑๙๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตฯ โดยเฉพาะการจัดงาน “Sawasdee DC” ที่ National Mall (๔) การร่วมผลักดันให้ประเทศไทยได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของ World Bank Group และ IMF ในปี ๒๕๖๙ (๕) การจัดตั้งสมาคมร้านอาหารไทยในสหรัฐอเมริกา (๖) การจัดตั้ง NVA Market ซึ่งจะนำไปสู่การจัดตั้ง Thai Town ที่รัฐเวอร์จิเนียซึ่งจะเป็นแห่งที่ ๓ ในสหรัฐฯ และ (๗) การสร้างเครือข่ายระหว่างสมาคม Thai American ทั้งสมาคมวิชาชีพ นักศึกษา และ Global Innovation Club

๒. พัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯ ตลอดการปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ การเยือนสหรัฐฯ ของนายกรัฐมนตรีที่นครนิวยอร์กและนครซานฟรานซิสโก การเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การเยือนไทยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ การประชุม Thailand-U.S. Strategic and Defense Dialogue (๒+๒) การฝึก Cobra Gold ครั้งที่ ๔๓ และ Cope Tiger 2024 ตลอดจนพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การขยายการตัวของตัวเลขาการค้าและการลงทุนระหว่างกันทั้งสองฝ่ายและการสนับสนุนพัฒนาการของ IPEF อย่างต่อเนื่องของไทย

๓. สภาวะของเศรษฐกิจของไทยไทยในปัจจุบันและแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระยะสั้น กลาง และระยะยาว และให้ความสำคัญกับการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ.และการส่งเสริมบรรยากาศการลงทุน รวมทั้งการเร่งรัดการเจรจา FTA การพัฒนาความเชื่อมโยงภายในภูมิภาคและ
อนุภูมิภาค การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียว การจัดทำสิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมการลงทุนในลักษณะรายบริษัท และการเตรียมการเข้าเป็นสมาชิก OECD

๔. วิสัยทัศน์ของ นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในการพัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ ๘ ด้านภายใต้ “Thailand Vision 2030, IGNITE Thailand”

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ