วันที่นำเข้าข้อมูล 24 มี.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 18 เม.ย. 2567

| 11,305 view

เศรษฐกิจ

 

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทย-สหรัฐฯ

สหรัฐอเมริกาและไทยมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานของความร่วมมือด้านการค้า ซึ่งย้อนไปถึงสนธิสัญญาไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกากับไทยในปี พ.ศ. 2376  รวมถึง TIFA ที่ลงนามในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 นอกจากนี้สหรัฐอเมริกาและไทยยังได้ร่วมมือกันผ่านพหุภาคีอีกด้วยในกรอบเศรษฐกิจอินโดแปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรือง (IPEF) และฟอรัมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (APEC)

ภาพรวมการค้า-การลงทุนไทย-สหรัฐฯ ปี 2566

  • สหรัฐฯ ยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของไทยรองจากจีน โดยมีมูลค่า 68,358 ล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้น 4.72% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
  • ไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 29,371 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทย โดยมีมูลค่า 48,865 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราการขยายตัว 2.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และคิดเป็น 17.2% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย อันดับสองและสามคือจีนและญี่ปุ่น สินค้าชั้นนำ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ยาง และโทรศัพท์
  • สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเข้าที่ใหญ่เป็นอันดับสามของไทย รองจากจีนและญี่ปุ่น โดยมีมูลค่า 19,494 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราการขยายตัว 9.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และคิดเป็น 6.7% ของการนำเข้าทั้งหมดของไทย สินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักร และผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์
  • ในด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ สหรัฐฯ อยู่ในอันดับที่ 3 โดยมีทั้งหมด 40 โครงการมูลค่ารวม 2.3 พันล้านดอลลาร์
  • สหรัฐฯ ได้มีการยื่นจดทะเบียนธุรกิจใหม่รวมนักลงทุน 101 ราย (15.1%) มูลค่า 126 ล้านดอลลาร์ (3.4%) เป็นอันดับที่ 3 รองจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์
  • ยอดรวมการลงทุนจากภาคธรุกิจของไทยในสหรัฐฯ มีมูลค่ารวม 15.27 พันล้านดอลลาร์ และมีการสร้างงานทั้งหมดมากกว่า 65,000 คน

สนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์

ไทยและสหรัฐฯ มีสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2376 (The U.S.-Thai Treaty of Amity and Economic Relations of 1833 – Treaty of Amity) นับถึงปัจจุบันมีทั้งสิ้น 5 ฉบับ ฉบับปัจจุบันได้ลงนามเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2509 มีขอบเขตความร่วมมือครอบคลุมกว้างขวางทางด้านมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ ครอบคลุมธุรกิจบริการทั้งหมด ยกเว้นธุรกิจ 6 ประเภท ได้แก่ การสื่อสาร การขนส่ง การดูแลทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น การธนาคารที่เกี่ยวข้องกับการรับฝากเงิน การค้าภายในที่เกี่ยวกับผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมือง และการแสวงหาผลประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ โดยสนธิสัญญาฉบับ 2509 นี้ให้ผลประโยชน์หลักแก่นักลงทุนต่างชาติ 2 ประการ ได้แก่

  • บริษัทสหรัฐฯ จะได้รับอนุญาตให้ดำรงสิทธิ์การถือหุ้นรายใหญ่ หรือถือหุ้นทั้งหมดของบริษัท สำนักงานสาขา หรือสำนักงานตัวแทนที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
  • บริษัทสหรัฐฯ จะได้รับการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (national treatment) โดยบริษัทสหรัฐฯ จะสามารถประกอบธุรกิจได้ในลักษณะเดียวกับบริษัทไทย และได้รับยกเว้นจากข้อจำกัดส่วนใหญ่ในการลงทุนจากต่างประเทศที่กำหนดโดยกฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2515 (Alien Business Law of 1972)

แนวนโยบายของไทยต่อสหรัฐฯ

  • เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
    • ไทยมีนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” ในการขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งเป็นโมเดลทางเศรษฐกิจเพื่อ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
    • ในการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายประเทศไทย 4.0 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ยานยนต์สมัยใหม่ หุ่นยนต์ ดิจิทัล เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพการแพทย์ครบวงจร และเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ เป็นต้น
    • โดยไทยยังได้ดำเนินโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ ในพื้นที่นำร่อง จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มีเป้าหมายเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจชั้นนำของเอเชีย ตอบรับกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่เป็น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการค้า การลงทุน 
  • เศรษฐกิจดิจิทัล
    • นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและความเท่าเทียมทางสังคมด้วยนวัตกรรมดิจิทัลโดยนโยบายดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านกายภาพและกฎระเบียบ (โครงสร้างพื้นฐานด้านบริการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาสังคมดิจิทัล และการพัฒนากำลังคนดิจิทัล) โดยมีภาครัฐเป็นผู้อำนวยความสะดวกด้านต่างๆ และ ภาคเอกชนจะเป็น     ผู้ขับเคลื่อนหลัก
  • ฺBio-Circular-Green (BCG) Economy Model หรือการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติพร้อมกันได้แก่เศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียนที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า และกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจอยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียวที่ให้ความสำคัญ การพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นการพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน
  • ส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจบริการในสหรัฐฯ โดยเฉพาะในด้านร้านอาหารไทย ธุรกิจสุขภาพ/สปา และส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมเพื่อสร้างทัศนคติและความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยอันจะมีส่วนช่วยสนับสนุนผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ทั้งในด้านการท่องเที่ยวและอาหารไทย
  • การสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้และการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ แสวงหา niche knowledge เพื่อช่วยพัฒนาและเสริมสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

 

แหล่งข้อมูล

 

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด: เม.ย. 2567